การเพาะปลูกถั่วแปบ

ชื่ออื่นๆ ถั่วแปะยี มะแปบ
หมวดหมู่ทรัพยากร พืช
ลักษณะทั่วไป ถั่วแปบเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีแหล่งกระจายพันธุ์มาจากประเทศอินเดีย แล้วจึงกระจายพันธ์ไปทางภูมิประเทศแบบเขตร้อนหรือร้อนชื้น ถั่วแปบมีโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n=22) จำนวน 11 คู่ ที่มีอายุข้ามปี โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือถั่วแปบเขียว (สีฝักจะมีสีเขียวเข้ม) และถั่วแปบขาว (ลักษณะฝักจะมีสีเขียวซีดขาว)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นถั่วแปบมีลำต้นเป็นไม้เลื้อยลำต้นบิด มีขนเล็กน้อย สูงประมาณ 1.5 เมตร - 3 เมตร บางพันธ์อาจสูงได้ถึงประมาณ 9 เมตร ลักษณะของใบ เป็นใบประกอบ 3 ใบ คล้ายรูปไข่ปลายเรียวแหลม ดอกมี 2 ชนิดคือ ชนิดดอกสีขาว และชนิดดอกสีม่วง เมล็ดอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือเป็นสีดำเมื่อแก่จัด
การใช้ประโยชน์
-ใช้ฝักอ่อน เมล็ด ใช้ประกอบอาหาร เช่นแกงส้ม ผักลวกจิ้มกับน้ำพริก
-ใช้เป็นสมุนไพลบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้อาการแพ้
-ใช้ปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์
-ใช้ปลูกเป็นพืชสำหรับทำปุ๋ย หรือเป็นพืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
แหล่งที่พบ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ (เขาค้อ)
ตำบล สะเดาะพง
อำเภอ เขาค้อ
จังหวัด เพชรบูรณ์
คุณค่าสารอาหาร

ถั่วแปบยังพบว่ามีสาร ไฟโตฮีแมคกลูตินิน (Phytohemagglutinine)ที่ช่วยในการเร่งการผลิตเม็ดเลือดขาวของร่างกาย ลำต้นของถั่วแปบยังพบว่ามีสารแคโรทีน หรือเบต้าแคโรทีน และสาร ลูเทียน (Lutein) ในส่วนของรากถั่วแปบมีเอนไซม์ชนิดหนึ่ง และกรดอะมิโนแยกอิสระอีกหลายชนิด จึงเหมาะแก่การปลูกถั่วแปบเพื่อบำรุงรักษาดิน
การปลูกเดี่ยว
ถั่วแปบเป็นพืชที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนวได้ง่าย เนื่องจากเมล็ดมีขนาดเท่ากับข้าวโพด สามารถปลูกโดยใช้เครื่องปลูกข้าวโพดได้ การปลูกเพื่อบำรุงดินให้ได้ผล ต้องมีจำนวนต้นประมาณ 25,000 ต้นต่อไร่ จะต้องระยะปลูกระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างต้น 12.5 เซนติเมตร (ปริมาณเมล็ดที่ใช้ 10 กิโลกรัมต่อไร่)

การปลูกร่วมกับพืชอื่น
ถั่วแปบปลูกร่วมกับข้าวโพดหวานได้ดี โดยปลูกถั่วแปบแซมระหว่างต้นข้าวโพด เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้ว ตัดต้นข้าวโพดพร้อมถั่วแปบนำไปเลี้ยงโคได้ หรือปล่อยให้ถั่วแปบเจริญเติบโตอีก ประมาณ 1 เดือน แล้วไถกลบลงไปในดินเพื่อบำรุงดินต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น