วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

โอบะ งาหอม



ชื่อวิทยาศาสตร์ Perilla fructescens (Linn.) Britt
ชื่อสามัญ Perilla หรือ Beef Steak Plant

คนจีนเรียกว่า Chi-ssu คนญี่ปุ่นเรียกว่า Shiso คนอินเดียเรียกว่า Bhanjira คนเกาหลีเรียกว่า Khaennip namul ชื่ออื่นๆในบ้านเรา งาขี้ม้อน งาหอม งามน งาเจียง  และชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่านอ

งาม่อน นี้อยู่กลุ่มเดียวกับพวกกระเพา โหระพา หรือพวกตระกูลมิ้น  เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งถ้าค้นหานี้ พืชในตระกูล Perilla มันคือ ใบชิโสะ/ใบโอบะ ที่เขาเอามาแต่งจาน หรือห่อข้าวปั้นนั่นเอง และเมล็ดมันก็ไม่ใช่งา ไม่ได้อยู่ในตระกูลงาด้วย แต่อยู่ในตระกูลใกล้เคียงกับเม็ดเเมงลักมากกว่าแต่ด้วยรสมันๆกรุบๆ ที่สัมผัสคล้ายงา ทำให้คนเรียกว่า งาขี้ม่
อนเมล็ดของมันมี สรรพคุณทางยา ลดการอักเสบและยับยั้งการแพ้ของผิวหนัง จึงน่าจะรู้จักกันในแวดวงยามากกว่า แล้วค่อยแพร่หลายมาในแวดวงเบอเกอรี่ไทย ไม่นานนี้เอง

ลักษณะเป็นเมล็ดกลมๆ สีน้ำตาล เป็นงาที่สามารถรับประทานสดๆ  โดยไม่ต้องผ่านความร้อนก็ได้  ทางเหนือนิยมนำไปตำ แล้วผสมเกลือเล็กน้อย คลุกกับข้าวเหนียวร้อนๆ หอมอร่อยมากๆ

สามารถนำไปผสมในการทำขนม คุกกี้ ขนมปัง หรืออื่นๆ  หรือทำขนม งากวน ราดกะทิ หรือ งากระจก (เหมือนถั่วกระจก) งาตัด

คุณค่าทางอาหารของงาหอม
1. มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง
2. มีฟอสฟอรัสและแคลเซียมมากกว่าพืชทั่วไป
    40 และ 20 เท่าตามลำดับ
3. มีวิตามิน บี
4. มีสาร เซซามอล ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง และชะลอความแก่
5. มีน้ำมันหอมระเหยจากใบ (perilla aldehyde) ใช้แต่งกลิ่นอาหาร
    ลดรอยบนใบหน้า
6. มีสารโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 มากกว่าน้ำมันปลา 2 เท่า
7. มีสาร rosmarinic acid และ tuteolin ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการแพ้ และอักเสบได้ดี

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.agriman.doae.go.th/home/news3/news3_1/rai/003_Lamiaceae.pdf

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น