• การเลี้ยงหอยหวานในประเทศไทยเริ่มมีผู้สนใจเลี้ยงกันมากขึ้น เพราะเลี้ยงง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ดี ในช่วงปี 2545 - 2546 หอยหวานมีราคา 250 - 300 บาท/กิโลกรัม
  • เทคนิคการเลี้ยงปลาหลดเพื่อจำหน่าย
  • เลี้ยงปลาช่อนแบบลดต้นทุน จากเกษตรกรต้นแบบ
  • "สมบุญ คำสอน" เจ้าของฟาร์มไก่ไข่ ลงทุนเลี้ยงไก่ไข่ ทำให้มีรายเดือนกว่า 1.6 แสนบาท

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิธีเพาะเลี้ยงปลากระทิง


 วิธีเพาะเลี้ยงปลากระทิง 
ปลากระทิงลาย ลักษณะทางชีววิทยา
ปลากระทิงลาย ชื่อสามัญ Armed Spiny Eel ชื่อวิทยาศาสตร์ Mastacembelus armatus รูปร่าง
คล้ายปลาไหลแต่ลำตัวแบนข้าง มีเกล็ดเล็กละเอียดบนลำตัวและหัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้มมีแถบสีดำเป็นเส้นคดเคี้ยวตั้งแต่บริเวณนัยน์ตาจนถึงฐานครีบหาง เส้นแถบนี้จะประแต้มไปจนถึงครีบหลังและครีบก้นปากเล็ก ฟันซี่เล็ก ลักษณะของจะงอยปากยาวดูคล้ายงวง ช่องเหงือกแคบเล็ก อยู่ค่อนไปทางตอนใต้ของส่วนหัว ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นเชื่อมติดกัน บริเวณหน้าครีบหลังและครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว ที่เปนหนามแข็งปลายแหลม ไม่มีครีบท้อง พบในแม่น้ำ หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาค กินแมลง ลูกกุ้ง ลูกกบและปลาอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า (กรมประมง, 2535)

 การเพาะพันธุ์ 
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
ปลากระทิงที่รวบรวมจากธรรมชาติจะตื่นตกใจง่าย ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงจะยอมรับอาหาร
ที่ฝึกให้กินเป็นอย่างดี โดยอาหารที่ให้เป็นลูกปลาตะเพียนขาว,ปลายี่สกเทศ ขนาดประมาณ 2 - 3
เซนติเมตร และพ่อแม่พันธุ์ปลามีความสมบูรณ์เพศพร้อมที่จะทำการผสมพันธุ์ ได้ในเดือนกันยายน โดยการตรวจสอบลักษณะภายนอก แม่ปลาดูลักษณะส่วนท้องอูมเป่ง ผนังท้องบางและนิ่ม ช่องเพศขยาย พ่อปลาเมื่อรีดที่ท้องจะมีน้ำเชื้อไหลออกมา

 การฉีดฮอร์โมนผสมเทียม 
ปลากระทิงลายสามารถเพาะพันธุ์ได้โดยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม อัตราการใช้ฮอร์โมนเป็นดังนี้
แม่พันธุ์ปลา แบ่งฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 8 ชั่วโมง ครั้งที่ 1 ฉีด 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ครั้งที่ 2
ฉีด 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และทั้ง 2 ครั้งฉีดร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
พ่อพันธุ์ปลาฉีดพร้อมกับแม่พันธุ์ปลาครั้งที่ 2 ในอัตรา 10ไมโครกรัม/กิโลกรัมร่วมกับ
ยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 37 – 41 ชั่วโมง จะสามารถรีดไข่จากแม่ปลาได้
ไข่ปลากระทิงลายเป็นแบบจมติดสีเหลืองอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ซึ่ง
ไข่ 1 กรัม จะมีปริมาณไข่ประมาณ 78 ฟอง หลังจากรีดไข่แล้วจะรีดน้ำเชื้อลงผสมกับไข่ น้ำเชื้อมีสีขาวขุ่น  การผสมเทียมใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง ( modified dry method ) ไข่ปลากระทิงลายสามารถฟักได้ในถาดฟักไข่ปลานิล โดยโรยไข่ลงไปบาง ๆ เปิดน้ำให้กระแสน้ำไหลตลอดเวลา หลังจากรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง มีอัตราการปฏิสนธิร้อยละ 95 – 97 อัตราการฟักร้อยละ 80 – 90 และอัตรารอดของลูกปลาร้อยละ 94 - 95 ที่อุณหภูมิน้ำ 26 – 27 องศาเซลเซียส โดยหลังจากฟักเป็นตัวจนลูกปลาถุงไข่แดงยุบหมดใช้เวลา 7 – 9 วันที่อุณหภูมิน้ำ 25 – 26 องศาเซลเซียส

ลักษณะท้องและช่องเพศของแม่ปลา
รังไข่และถุงน้ำเชื้อ
รีดไข่จากแม่พันธุ์ปลา
รีดน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ปลา
การผสมไข่กับน้ำเชื้อ

ไข่ที่โรยเพื่อฟักในถาดฟักไข่ปลานิล
ลูกปลาอายุ 1 วัน
ลูกปลาอายุ 2 วัน
ลูกปลาอายุ 5 วัน
ลูกปลาอายุ 7 วัน (ถุงไข่แดงยุบ)


การอนุบาลลูกปลากระทิง
ลูกปลากระทิงมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า โดยใช้เวลาถึง 7 วันถุงไข่แดงจึงจะยุบ ลูกปลาแรกฟัก
จะนอนนิ่ง ๆ ที่พื้นของถาดฟักไข่ เมื่อลูกปลาอายุ 3 วันจะเริ่มรวมกลุ่มและหลบอยู่ตามมุมถาด
สามารถว่ายน้ำไปมาได้เล็กน้อย เริ่มให้ไรแดงร่อนเป็นอาหารเมื่อลูกปลาอายุได้ 7 วัน และลูกปลาสามารถกินไรแดงร่อนได้ดีเมื่ออายุ 9 วัน


การเลี้ยงปลากระทิง
ลูกปลาอายุ 10 – 40 วันให้ไรแดงเป็นอาหาร หลังจากนั้นจะเริ่มฝึกให้กินเนื้อปลานิลสับละเอียด
ปรับขนาดของเนื้อปลาสับตามขนาดของปากลูกปลา การเลี้ยงลูกปลากระทิงจะประสบปัญหาปลาป่วยเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก เช่นเห็บระฆัง อิพิสไทลิส การรักษาใช้ฟอร์มาลิน 25 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตรเป็นเวลา 3 – 5 วัน ปลาจะมีอาการดีขึ้น (ศิพร และ คณะ, 2552 )

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ขุดแมงป่องหรือแมงเงาขายสร้างรายได้งามในช่วงแล้ง


อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม เป็น 1 ใน 13 อำเภอของ จ.มหาสารคาม ที่ประสบกับปัญหาภัยแล้งทุกปี เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะปลูกพืชใช้น้ำน้อย แต่หลายพื้นที่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ชาวบ้านในหมู่บ้านหนองแก หมู่ 8 ตำบลนาสีนวล อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม จึงได้รวมกลุ่มกันหาอาชีพเสริมด้วยการขุดแมงเงา (แมงป่อง) ขายและแปรรูป


ส่วนเมนูเด็ดและทำกินง่าย ๆ ชาวบ้านนิยมนำแมงเงามาทอด โดยนำมาล้างน้ำก่อน ผึ่งแดดให้พอหมาดแล้วทอดให้กรอบ จากนั้นนำมาคลุกกับผงปรุงรส หรือโรยเกลือ กินกับข้าวเหนียว รสชาติจะแซ่บตามแบบฉบับของชาวอีสาน

นางพรม หงส์บุตรศรี กล่าวว่า ตัวเองอายุมากแล้วและไม่อยากห่างบ้านไปไกล จึงต้องหาอาชีพเสริมด้วยการขุดแมงเงา ซึ่งก็ถือว่ารายได้ดีพอสมควร เพราะแมงเงา 1 ตัวสามารถขายได้ราคาตัวละ 5 บาท หากตัวเล็กขายราคา 4 บาท แต่ถ้าเอาไปทอดก็สามารถขายได้ถึงตัวละ 7 – 8 บาท แต่ถ้าจะได้กำไรยิ่งขึ้นชาวบ้านที่นี่จะนำแมงเงาไปล้างและสับละเอียดทำห่อหมก โดยผสมเครื่องเทศ จำพวกพริก ตะไคร้ หอมแดง เพิ่มความอร่อยและเนื้อสัมผัสด้วยกล้วยดิบ โดยห่อหมกหนึ่งหมกขายราคา 20 บาท โดยแมงเงา 1 กิโลกรัม สามารถทำห่อหมกขายได้ประมาณ 1,000 บาท ต่อห่อหมก 1 ห่อ

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แมงป่องช้าง ลงทุนน้อย ตลาดรับไม่อั้น


 แมงป่องช้าง'ลงทุนน้อย-ตลาดรับไม่อั้น 
'แมงป่องช้าง' สัตว์เศรษฐกิจ ลงทุนน้อย-ตลาดรับไม่อั้น : โดย...กวินทรา ใจซื่อ

แมงป่องช้าง เป็นแมงที่คนรุ่นก่อน โดยเฉพาะในภาคอีสานนิยมนำมาบริโภค ด้วยนำมาย่างทำเป็นน้ำพริกจิ้มกินกับผัก คล้ายน้ำพริกแมงดา จากข้อมูลพบว่าแมงป่องช้างมีโปรตีนสูงจำพวกเดียวกับหนอนไหม ปัจจุบันด้วยจำนวนแมงป่องช้างในธรรมชาติที่ลดน้อยลงเนื่องจากป่าถูกทำลาย ที่เห็นวางขายตามแผงขายแมลงทอดทั้งหมด ล้วนนำเข้าจากประเทศกัมพูชา ทำให้มีราคาขายสูงถึงตัวละ 20 บาท

การลดลงของแมงป่องช้างทำให้ นายนพดล ภูมาลัย เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.ขอนแก่น (ผึ้ง) ทดลองเพาะเลี้ยงแมงป่องช้างเพื่อเศรษฐกิจ โดยเริ่มต้นงานวิจัยและทดลองเลี้ยงเมื่อปี 2536 ทำให้มีข้อมูลด้านการคุ้มทุน ความน่าสนใจ หากเกษตรกรต้องการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม


“ตลอด 20 ปีที่มีการศึกษาวิจัยการเลี้ยงแมงป่องถือเป็นสัตว์ที่เลี้ยงยาก ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงหลังผสมพันธุ์และหลังออกลูก ตัวเมียจะกินตัวผู้และกินลูกตัวเอง ทำให้อัตราการรอดเหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ได้ผลผลิตเพียงปีละครั้ง หากมองในแง่เศรษฐกิจถือว่าเป็นการเลี้ยงที่น่าสนใจทีเดียว เพราะมีตลาดรองรับมาก และความต้องการของตลาดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทว่า เกษตรกรต้องเอาจริงเอาจัง คิดว่าทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องอาศัยใจรักและความอดทน” นพดล แจง

โดยการเลี้ยงแมงป่องช้าง ต้องเริ่มจากรวบรวมพ่อแม่พันธุ์โดยให้สังเกตจากลำตัว ตัวผู้จะมีลักษณะเรียว หางยาวและก้ามใหญ่ แถบข้างลำตัวสีขาวอมเทา เมื่อถูกบุกรุกจะชูก้าม ชูหางข่มคู่ต่อสู้ ส่วนตัวเมียส่วนท้องจะอ้วนและโตกว่า แถบข้างลำตัวสีขาวอมเทา จะสงบเสงี่ยมเมื่อถูกรุกราน มีนิสัยหากินช่วงกลางคืน กลางวันจะหลบซ่อนตัว ชอบอากาศร้อนชื้นที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส

การเลี้ยงต้องเลี้ยงในที่ร่ม ใช้บ่อปูนขนาด 80 เซนติเมตร ในบ่อให้ใส่ดินหนา 10 เซนติเมตร และใบไม้แห้ง เพื่อใช้หลบซ่อนตัวในเวลากลางวัน หลังจากให้อาหารใช้ตาข่ายปิดรอบปากบ่อรัดให้แน่น ส่วนการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1 ต่อ 1 บ่อละ 40-50 ตัว ให้อาหารช่วงเย็นวันเว้นวัน จำพวกสัตว์เล็กๆ เช่น แมงมุม ตั๊กแตน ปลวก จิ้งหรีด ต้องมีน้ำวางไว้ในบ่อให้กินตลอด ต้องใส่ก้อนหินไว้ให้ด้วยเพื่อป้องกันแมงป่องจมน้ำ ช่วงเมษายนต้องแยกตัวเมียออกไปเลี้ยงลำพังเพื่อเตรียมออกลูก ซึ่งจะออกครั้งละ 7-29 ตัว ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่

ช่วง 15 วันแรก ลูกแมงป่องจะมีสีขาว ขนยาว อาศัยบนหลังแม่ตลอด ไม่กินอาหาร ระหว่างนี้จะลอกคราบ 1 ครั้ง จากนั้นจะเริ่มลงจากหลังแม่หากินใกล้แม่ และเริ่มแยกตัวหากินลำพัง จนอายุครบ 1 เดือน ต้องแยกแม่ออกป้องกันแม่กินลูก แล้วนำลูกมาเลี้ยงอนุบาลรวมกันอายุ 8 เดือน หรือ 1 ปี จึงจะจับขายได้

“หากต้องการเลี้ยงเป็นอาชีพจะต้องมีพ่อแม่พันธุ์ 1,000 คู่ ขึ้นไป ส่วนพื้นที่เพาะเลี้ยงได้ทดลองปรับจากบ่อซีเมนต์ เป็นเพาะเลี้ยงในปี๊บ เลี้ยงได้เช่นกัน อาจทำเป็นปี๊บคอนโดซ้อนกัน ช่วยประหยัดพื้นที่ ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจ เพราะตลาดมีความต้องการมาก ดูได้จากมีพ่อค้าแม่ค้าฝั่งไทยไปรับซื้อที่ตลาดโรงเกลือเพื่อนำมาขายต่อ เพราะฝั่งประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีแมงป่องตามธรรมชาติให้จับอยู่มาก ทว่า ในบ้านเรายังไม่มีเกษตรกรเลี้ยงอย่างจริงจัง แต่หากต้องการเลี้ยงก็ไม่ยาก ลงทุนไม่มาก อาหารไม่เปลือง เป็นอาชีพที่น่าสนใจทีเดียว” นพดล กล่าว

พร้อมฝากถึงเกษตรกร ประชาชนที่สนใจศึกษาการเลี้ยงแมงป่องช้าง สอบถามรายละเอียดหรือเข้าไปดูการเลี้ยงได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.ขอนแก่น (ผึ้ง) โทร.0-4325-5066, 0-4325-5066 ได้ในวันและเวลาราชการ