• การเลี้ยงหอยหวานในประเทศไทยเริ่มมีผู้สนใจเลี้ยงกันมากขึ้น เพราะเลี้ยงง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ดี ในช่วงปี 2545 - 2546 หอยหวานมีราคา 250 - 300 บาท/กิโลกรัม
  • เทคนิคการเลี้ยงปลาหลดเพื่อจำหน่าย
  • เลี้ยงปลาช่อนแบบลดต้นทุน จากเกษตรกรต้นแบบ
  • "สมบุญ คำสอน" เจ้าของฟาร์มไก่ไข่ ลงทุนเลี้ยงไก่ไข่ ทำให้มีรายเดือนกว่า 1.6 แสนบาท

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ปลูกใบเตยสร้างรายได้



ปลูกใบเตยสร้างรายได้
เตยหอมพืชที่หลายๆท่านมองข้าม ทั้งที่จริงแล้วใบเตยนั้นมีราคาและคุณประโยชน์มากมายเลยทีเดียว วิธีการปลูกและการดูแลแสนจะง่าย ขายราคาก็สูง แถมเป็นพืชที่ตลาดต้องการไม่น้อยกว่าพืชชนิดอื่นๆ การปลูกต้นเตยนั้นไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่กว้างมาก นอกเสียจากว่าเราต้องการปลูกเพื่อการค้าก็สามารถทำได้ เพียงให้ใกล้แหล่งน้ำเท่านั้น เมื่อเตรียมพื้นที่ได้แล้วก็ต้องเลือกต้นมาลงปลูก วิธีการเลือกต้นเพื่อนำมาลงปลูกนั้นควรเป็นต้นที่มีลักษณะมีเหง้าและรากที่สมบูรณ์ สูงประมาณ 8-10 นิ้ว



วิธีการปลูกใบเตย
การปลูก เตยหอม นั้นเราจะต้องมีพื้นที่จะเพาะปลูก ต้องใกล้น้ำค่อนข้างแฉะ มีน้ำหมุนเวียนตลอดปี มีร่มเงารำไรให้ต้นเตยไม่โดนแสงแดดโดยตรง หรือตามร่องสวน ตามชายบ่อน้ำ ส่วนการปลูกในพื้นนามีการเตรียมดินคล้ายกับการทำนาแต่ทำเพียงครั้งเดียวก่อน ปลูกเพื่อให้พื้นที่เรียบ ระบบน้ำดูแลง่าย ส่วนทางเดินเข้าเก็บเกี่ยวเตยหอมขึ้นอยู่ตามความสะดวกสบายที่ผู้ปลูกต้อง จัดการและวางแผนเองตามความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกและขนาดพื้นที่ ก่อนปลูกต้องเปิดน้ำเข้าแปลงประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือประมาณ 15 เซนติเมตร จากนั้นเตรียมต้นพันธุ์เตยหอมที่แข็งแรงที่มีรากปักลงในแปลง โดยทำเหมือนการดำนา จากนั้นดูแลระบบถ่ายเทน้ำดูแลไม่ให้ต้นที่ปักดำลอยขึ้นมา ทิ้งไว้ 3 เดือน จึงเพิ่มปริมาณน้ำขึ้น หลังจากปลูก 6 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวได้ การเก็บเกี่ยวใช้มีดตัดยอด อย่าเสียดายยอด การตัดยอด 1 ยอด ทำให้เกิดยอดใหม่มากมาย โดยเฉลี่ยตัดไป 1 ยอด จะได้ยอดใหม่ 3-5 ยอด ทั้งนี้ การดูแลบำรุงรักษาต้นเตยหอมนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก เพียงแต่เกษตรกรจำเป็นต้องเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ มีการปรับพื้นที่ให้โล่ง ไม่มีวัชพืชขึ้นปกคลุมต้นเตยหอม เพราะจะทำให้ ใบเตย หอม หรือต้นเจริญเติบโตช้า และใบไม่สวย ควรจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก บำรุงต้น และใบบ้าง เพื่อให้ต้นเตยหอม มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับ ใบเตย หอม ที่ส่งขายไปยังท้องตลาด ก็สามารถจะนำไปประกอบอาหารคาว หวาน ได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ก็ยังไปประกอบร่วมกับดอกไม้ในการไหว้พระ ซึ่งในตลาดมีความต้องการ ใบเตย หอมเป็นอย่างมาก

วิธีการปลูก เริ่มจากการไถพรวนพื้นที่ที่จะทำการปลูก แล้วขุดหลุม ขนาด 5×5 ซม. ลึก 6-7 ซม. ระยะห่างของแต่ละหลุม ประมาณ 8-10 ซม.เมื่อได้ขนาดของหลุมตามที่ต้องการแล้ว ใส่ปุ๋ยสูตร 15  - 15 – 15  แล้วตามด้วยมูลหมูขนาดหลุมละ 1 ถ้วย เพื่อเป็นการรองก้นหลุมนำต้นเตยที่เตรียมไว้ลงหลุมปลูกและกลบดินทับ

วิธีการบำรุงต้นเตย
พรวนดินทุกๆ 3-4 เดือน พร้อมใส่ปุ๋ยเพิ่มเข้าไป เช่น ขี้หมู โรยรอบๆโคนต้น

วิธีการให้น้ำ
จะต้องรดนำเป็นประจำทุกวันให้ดินเกิดความชุ่มตลอดเนื่องจากต้นเตยเป็นพืชที่ต้องการความชื้นมาก

วิธีการเก็บเพื่อจำหน่าย
เลือกใบที่สวย โดยใช้มือริใบของต้นเตยออกทีละใบเมื่อได้แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด หรือจะตัดทั้งต้นเลยก็ได้ ราคาในท้องตลาด 50-80บาท/มัด (มัดละ50 ต้น) หรือ 20 บาท/ก.ก

ประโยชน์ของใบเตย
ใบเตย นั้นใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เพราะ ใบเตย มีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี วิธีรับประทานคือ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง ใบเตย สามารถช่วยดับกระหาย เนื่องจาก ใบเตย มีกลิ่นหอมเย็น หากนำมาผสมน้ำรับประทาน จะช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทานแล้วรู้สึกชื่นใจ และชุ่มคอได้เป็นอย่างดี วิธีรับประทานคือ นำ ใบเตย สดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม ใบเตย สามารถ รักษาโรคหัด หรือ 
โรคผิวหนัง โดยนำ ใบเตย มาตำแล้วมาพอกบน
ผิวรากและลำต้น ใบเตย สามารถใช้รักษาโรคเบาหวาน เพราะรากและลำต้นของเตยหอมนั้น มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีรับประทานก็คือ ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น ใบเตย สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ไปต้มกับน้ำดื่มนอกจากนี้ เตยหอม ยังช่วยในเรื่องของอาการที่อ่อนเพลีย ดับพิษไข้ และชูกำลังได้อีกด้วย เห็นสรรพคุณมากมายขนาดนี้แล้ว ต้องบอกว่าไม่ธรรมดาจริง ๆ สำหรับเจ้าพืชสีเขียวใบเรียวชนิดนี้  ใช้ผสมอาหาร , ทำอาหาร , ดับกลิ่น , แก้โรคเบาหวาน และใช้บำรุงหัวใจ น้ำใบเตยกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ดื่มทำให้ชุ่มคอ ใบสามารถนำมาตำพอกโรคผิวหนังและลำต้นและรากใช้ทำยาขับปัสสาวะ

ที่มา : http://www.talaadthai.com/main/knowledgepage.aspx?id=418

งาขี้ม้อน งาหอม



ชื่อวิทยาศาสตร์ Perilla fructescens (Linn.) Britt
ชื่อสามัญ Perilla หรือ Beef Steak Plant

คนจีนเรียกว่า Chi-ssu คนญี่ปุ่นเรียกว่า Shiso คนอินเดียเรียกว่า Bhanjira คนเกาหลีเรียกว่า Khaennip namul ชื่ออื่นๆในบ้านเรา งาขี้ม้อน งาหอม งามน งาเจียง  และชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกว่านอ

งาม่อน นี้อยู่กลุ่มเดียวกับพวกกระเพา โหระพา หรือพวกตระกูลมิ้น  เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งถ้าค้นหานี้ พืชในตระกูล Perilla มันคือ ใบชิโสะ/ใบโอบะ ที่เขาเอามาแต่งจาน หรือห่อข้าวปั้นนั่นเอง และเมล็ดมันก็ไม่ใช่งา ไม่ได้อยู่ในตระกูลงาด้วย แต่อยู่ในตระกูลใกล้เคียงกับเม็ดเเมงลักมากกว่าแต่ด้วยรสมันๆกรุบๆ ที่สัมผัสคล้ายงา ทำให้คนเรียกว่า งาขี้ม่
อนเมล็ดของมันมี สรรพคุณทางยา ลดการอักเสบและยับยั้งการแพ้ของผิวหนัง จึงน่าจะรู้จักกันในแวดวงยามากกว่า แล้วค่อยแพร่หลายมาในแวดวงเบอเกอรี่ไทย ไม่นานนี้เอง

ลักษณะเป็นเมล็ดกลมๆ สีน้ำตาล เป็นงาที่สามารถรับประทานสดๆ  โดยไม่ต้องผ่านความร้อนก็ได้  ทางเหนือนิยมนำไปตำ แล้วผสมเกลือเล็กน้อย คลุกกับข้าวเหนียวร้อนๆ หอมอร่อยมากๆ

สามารถนำไปผสมในการทำขนม คุกกี้ ขนมปัง หรืออื่นๆ  หรือทำขนม งากวน ราดกะทิ หรือ งากระจก (เหมือนถั่วกระจก) งาตัด

คุณค่าทางอาหารของงาหอม
1. มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง
2. มีฟอสฟอรัสและแคลเซียมมากกว่าพืชทั่วไป
    40 และ 20 เท่าตามลำดับ
3. มีวิตามิน บี
4. มีสาร เซซามอล ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง และชะลอความแก่
5. มีน้ำมันหอมระเหยจากใบ (perilla aldehyde) ใช้แต่งกลิ่นอาหาร
    ลดรอยบนใบหน้า
6. มีสารโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 มากกว่าน้ำมันปลา 2 เท่า
7. มีสาร rosmarinic acid และ tuteolin ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการแพ้ และอักเสบได้ดี

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.agriman.doae.go.th/home/news3/news3_1/rai/003_Lamiaceae.pdf

เลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์



นางย้อม แสงสว่าง อายุ 53 ปี  ณ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 2 ต.ป่างิ้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง เป็นผู้ริเริ่มเลี้ยงปลาช่อนในบ่อ
ซีเมนต์เป็นผลสำเร็จน่าภูมิใจอย่างยิ่ง คุณย้อมเล่าว่า มีเวลาว่างก็เลยคิดที่จะทดลองเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีที่อยู่รอบบ้านว่างอยู่ โดยครั้งแรกก็นำปลาหมอไทยมาเลี้ยง ปลาดุก กบมาเลี้ยงก็ได้ผลแต่ปลาหมอไทยไม่ได้ผลเนื่องจากการเติบโตช้ามาก จึงข้ามมาทดลองเลี้ยงปลาช่อนดู เห็นว่าราคาดีและยังไม่มีใครทำจึงได้ดำเนินการดังนี้  ''เกษตรบ้านอะลาง''


 การเตรียมบ่อซีเมนต์ 
1. บ่อซีเมนต์ควรทำหลายๆบ่อก็จะดี เช่น บ่ออนุบาลปลาช่อน ควรมีขนาด 2 x 3 เมตรหรือ 2x2 เมตรก็ได้ ความลึกขนาด 30 ซม. มีหลังคาคลุมป้องกันงู นก จะมากินลูกปลาช่อน ปล่อยลูกปลาขนาด (ประมาณ1-2 นิ้ว) ได้ 2000-3000 ตัว ควรทำ 2-3 บ่อถ้าต้องเลี้ยงปลาจำนวน 10000 ตัว อนุบาลไว้ 30 วัน

2. บ่อเลี้ยง ควรมีขนาด 5x10 เมตร ลึก 1 เมตร แช่น้ำให้มีตระใคร่น้ำจับให้หมดฤทธิ์ของปูน ใส่น้ำขนาดความลึก 30 ซม. ใส่ผักตบชวา (ผักปลอด) จำนวนครึ่งของพื้นที่บ่อให้ปลาช่อนได้หลบแสงและป้องกันน้ำเสียง่าย บ่อเลี้ยงมีอย่างน้อย 2-3 บ่อ เพื่อให้คัดขนาดของปลาที่โตเท่าๆ กันเลี้ยงในบ่อเดียวกัน การหาลูกปลาช่อนและการอนุบาล ลูกปลาช่อนหาได้จากลำคลอง ทุ่งนาข้าว หรือ แหล่งน้ำ จะเห็นว่าในช่วงฤดูฝนเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมปลาช่อนจะวางไข่ และ จะมีลูกปลาเล็กๆ ตัวขนาด 1-2 นิ้ว เป็นฝูงจะมองเห็นผุดน้ำระยิบๆ ก็จะนำสวิงตาถี่ เช่นไนลอนเขียวทำเป็นสวิงตักปลาขนาดกลางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1เมตร นำไปช้อนลูกปลาและใส่ภาชนะกระมังใหญ่ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ อัดอ๊อกซิเจนกรณีลำเลียงลูกปลาไกลๆ

เมื่อได้ลูกปลาแล้วนำมาแช่น้ำใหม่โดยใส่ยาฆ่าเชื้อโรคเจือจางก่อนนำลงบ่ออนุบาล ทิ้งไว้ 1วัน ให้ลูกปลาหิวก็จะนำอาหารชนิดผงของปลาดุกเล็กมาปั้นก้อนขนาดเท่าหัวแม่มือ 2-3 ก้อน วางลงในบ่อปลาลูกปลาจะเข้ามากินและชอบกินมาก ในวันต่อๆ มา ควรให้วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และในสัปดาห์ต่อมาควรฝึกให้กินจิ้งหรีดตัวเล็กๆ ในสัปดาห์ที่ 3-4 ซึ่งลูกปลาจะโตขนาดเท่านิ้วมือความยาวขนาด 4-5 นิ้ว การเลี้ยงปลาเป็นใหญ่ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จะย้ายปลาช่อนลงบ่อเลี้ยงขนาด 5x10 เมตร จำนวนบ่อละ 2000-3000 ตัว

ช่วงนี้กรณีไม่มีจิ้งหรีดหรือไม่เพียงพอ ให้ใช้หอยเชอรี่มาต้มทั้งตัวและ แคะเอาแต่เนื้อหอยมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปใส่ในบ่อปลาช่อนจะกินจำนวนหอยเมื่อแกะแล้วจำนวนครั้งละ 1 กิโลกรัม  แต่จะทำให้น้ำเสียเร็ว ประมาณ 15วัน จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ กรเปลี่ยนถ่ายน้ำให้น้ำไหลออกจากรูระบายน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าตัวปลา ปล่อยน้ำให้หมดบ่อเลยแล้วเอาน้ำใหม่ใส่ ข้อดีคือ ทำให้เราเห็นสภาพของปลาได้ชัดเจนว่า ปลาเจ็บป่วยหรือไม่ และปริมาณการเติบโตจะเห็นได้ชัด พร้อมทั้งคัดขนาดของปลาได้

*ข้อระวัง*
บ่อจะต้องมีตาข่ายไนล่อนขึงปิดไว้ริมบ่อให้สูง ยิ่งถ้าฝนตกปลาช่อนจะกระโดดสูง ถ้าไม่กันจะกระโดดออกหมด

                   อาหารเลี้ยงปลาช่อน               
จำเป็นจะต้องลดต้นทุนให้มากที่สุด ให้ได้กำไรมากที่สุด ช่วงระยะของการเลี้ยงปลาช่อน
1. ต้องการปลาช่อนขนาดเล็ก 4 ตัว/กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

2. ต้องการปลาช่อนขนาด 2-3ตัว /กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ในกรณีที่ใช้อาหารปลาดุก +จิ้งหรีด ระยะเวลาจะเร็วกว่านี้ ประมาณ 1 เดือนการให้อาหารปลาช่อนให้เช้า-เย็น กรณีถ้าเราเลี้ยงจิ้งหรีดได้สัปดาห์ละ 5 หมื่นตัวต่อสัปดาห์ จะเพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ(2000-3000ตัว)


                        ด้านการตลาด                    
ปลาช่อนเป็นปลาเศรษฐกิจขายได้ทุกขนาด ยิ่งน้ำหนักตัวละ 8-9 ขีด ถึง 1กิโลกรัม จะได้ราคาดีกิโลกรัมละ70-80 บาท ถ้าเผาปลาช่อนขายจะขายได้ตัวละ 90-100 บาท ปลาช่อนเล็ก ราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่ถ้าแปรรูปเป็นปลาเค็ม ปลาช่อนแดดเดียว ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ความต้องการของตลาดมีมาก ในช่วงเวลาก่อนขาย 1 เดือน จะถ่ายน้ำบ่อยเพื่อให้ปลาช่อนไม่มีกลิ่นสาบของน้ำและช่วงเวลาจับขายจะให้อาหารจิ้งหรีด หรืออาหารปลาดุกชนิดเม็ดอย่างเดียว ไม่ให้หอยเชอรี่เนื่องจากจะทำให้น้ำมีกลิ่นและปลาจะมีกลิ่นตามไปด้วย ควรถ่ายน้ำบ่อยๆ ในช่วงเดือนที่จะจับขาย ปลาช่อนจะมีสีสวยงามสีของปลาช่อนจะมีเกล็ดเป็นเงางามอ้วนสมบูรณ์ ในขณะเลี้ยงจะต้องจำกัดอาหารให้พอดี ปลาช่อนชอบกินอาหรประเภทจิ้งหรีดมาก บางครั้งพบว่ากินจนท้องแตกในระยะเล็ก ๆ

 การแปรรูปปลาช่อน 
ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่บริโภคได้อร่อย ทั้งต้ม แกง ปลาเค็ม ปลาหยอง ปลาทุบ แม้แต่ทำเค็กเนื้อปลา

 ผลกำไรในการเลี้ยงปลาช่อน 
ตลอดระยะเวลาช่วงเลี้ยง 8-9 เดือน ตัวรุ่นเล็ก 2500 ตัว จะได้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1200 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 60 บาท เป็นอย่างต่ำ เป็นเงิน 72000 บาท การลงทุนหากไม่คิดค่าบ่อ คิกแต่ค่าอาหารช่วงเล็กๆค่าน้ำ ค่ากระแสไฟฟ้า ใช้แรงงานในครัวเรือนแล้วใช้เงินประมาณ 1500บาท/รุ่น ซึ่งก็ทำให้มีผลกำไรสูง ถ้าเลี้ยงหมุนเวียนประมาณ 3 บ่อ ก็จะมีรายได้ที่งดงามจริงๆ สนใจ ดูการเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์ เส้นทางของเกษตรมีอนาคต สามารถเป็นรูปแบบจุดประกายความคิดให้อีกหลายๆ ชีวิต ได้ลุกขึ้นสู้ภัยเศรษฐกิจ รีบกลับบ้านที่ว่างในรั้วบ้านยังมีพอจะสร้างบ่อซีเมนต์แล้วเลี้ยงปลาหรือกบหรือคางคก ทุกอย่างสามารถเลี้ยงเป็นเงินทั้งนั้น หรือจะเข้าชมการเลี้ยงของคุณย้อม แสงสว่าง เลขที่ 8 หมู่ 2ต.ป่างิ้ว อ. เมือง จ.อ่างทอง ชมรมเพื่อนเกษตร  โทร.035-627333


การทำปลาช่อนเค็มแดดเดียว 
ปลาช่อน จำนวน 25 กิโลกรัม
เกลือเม็ด จำนวน 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด จำนวน 1 ปีบ
สีผสมอาหาร จำนวน 1 ซอง
น้ำแข็งละเอียด จำนวน 20 กิโลกรัม

 วิธีทำ 
ทำความสะอาดขอดเกล็ด ตัดกลีบ ตัดหัว ผ่าท้องตามยาว ถ้าตัวเล็กไม่ต้องผ่ากลาง แต้ถ้าตัวใหญ่ให้ผ่ากลาง เอากระดูกสันหลังออก ล้างน้ำให้สะอาด ผสมเกลือกับน้ำให้ละลาย ชิมน้ำให้เค็มพอดี แล้วนำปลาใส่และใส่น้ำแข็ง แช่ไว้ในถังพลาสติก ทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นนำปลาออกมาล้างให้สะอาด นำไปตากแดดประมาณ 5-6 ชั่วโมงก็นำออกไปขายหรือบริโภคได้อร่อย ปลาจะเนื้อนิ่มระดับความเค็มจะพอดี และน้ำแข็งจะทำให้เนื้อปลาสด ขณะที่แช่หมักไว้ ควรทดลองทำ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจสอบความเค็มให้พอเหมาะตามต้องการ ปลาช่อนเค็มแดดเดียวราคาขายกิโลกรัมละ 120-140 บาท




การปลูกดีปลี



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Piper retrofractum  Vahl
ชื่อสามัญ :   long pepper
วงศ์ :    Piperaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบ เดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน

ส่วนที่ใช้ : ราก เถา ใบ ดอก ผลแก่จัด แต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง

ลักษณะทั่วไป
ดีปลีเป็นไม้เลื้อยที่มีรากออกตามข้อและเกาะพันสิ่งอื่นได้ ส่วนของลำต้นค่อนข้างกลมและเรียบ มีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ใบเป็นแบบสลับ ตัวใบคล้ายรูปไข่ ขอบขนานหรือรูปไข่เรียว ปลายใบแหลม โคนใบมักมนกลมหรือแหลม เนื้อโคนใบสองข้างไม่เท่ากัน ผิวใบด้านบนมัน ใบมีขนาดกว้าง 3 - 8 ซม. ยาว 6 - 18 ซม. เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี 3 - 5 เส้น ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปคล้ายทรงกระบอกปลายเรียวมน เมื่อเป็นผลมีรูปร่างค่อนข้างกลม ฝังตัวแน่นอยู่กับแกนช่อรูปทรงกระบอกปลายเรียวมนยาว 2.5 - 7 ซม. เมื่อแก่จะมีสีแดงสด

ดีปลีมีการปลูกเชิงการค้ามาเป็นเวลานาน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณ มีทั้งการปลูกเป็น พืชหลัก และการปลูกในสวนผลไม้เป็นพืชเสริม แหล่งผลิตสาคัญที่มีภูมิอากาศที่เหมาะสมและเป็นที่รู้จักของผู้ค้า สมุน ไพร ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้แหล่งผลิตอื่น ๆ ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี นครปฐม  และนครศรีธรรมราช  ดีปลีเป็นพืชอายุหลายปี ดังนั้น ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มีความร่วนซุยระบายน้ำได้ดี เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ การใช้ค้างควรใช้ค้างที่มีความแข็งแรง มีอายุการใช้งานนาน เนื่องจากดีปลีมีอายุยืน

การเปลี่ยนค้างบ่อยเป็นการสิ้นเปลือง และทำให้ดีปลีชะงักการเจริญเติบโต ประการต่อไป ที่ต้องคำนึงถึงคือ จำนวนแรงงาน ดีปลีเป็นพืชที่ต้องการการดูแลมากพอสมควรทั้งการให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืชและการเก็บเกี่ยว ดังนั้นควรมีแรงงานในครอบครัวหรือแรงงานจ้างเพียงพอที่จะสามารถดูแลจัดการได้ใน ทุกขั้นตอนการผลิต ประการสุดท้ายคือ การตากแห้งและการเก็บรักษาเป็นสิ่งสาคัญมากเพื่อให้มีคุณภาพดี ไม่มีเชื้อรา หรือมอดเข้าทำลาย ทำให้เสียคุณภาพ และขายได้ราคาต่ำ   เกษตรบ้านอะลาง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอกแก่ (ช่อผลแก่) หรือเถา

สรรพคุณและวิธีใช้
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปรกติ) ใช้ดอกแก่ 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ดอก)ต้มเอาน้ำดื่มถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้
แก้ไอและขับเสมหะ ใช้ดอกแก่แห้ง หรือช่อผลแก่แห้งประมาณ 0.5 ช่อ ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือกวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ

สภาพพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม
ดีปลีชอบดินร่วนไม่มีน้ำขัง มีอินทรีย์วัตถุมาก ทนความแห้งแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน

พันธุ์และการขยายพันธุ์
ใช้เพาะเมล็ดหรือเถา ส่วนมากนิยมใช้เถา
 การเลือกพันธุ์ : เลือกต้นพันธุ์ที่อายุ 1-2 ปี ที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคและแมลงทำลาย
พันธุ์ที่นิยมปลูก : พันธุ์พื้นเมือง


     การปลูกดีปลี      
การเตรียมดิน : กาจัดวัชพืชและเศษวัสดุ ไถพรวน ตากดินประมาณ 7-15 วัน จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อย สลายดีแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันอัตรา 2 ตัน/ไร่ และควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับความเป็นกรดด่างของดินให้มีค่า 5.5 - 6.5 ph

การเตรียมพันธุ์ : ใช้ยอดแก่ปลูก 3-4 ยอดต่อค้าง ปักชำส่วนยอดให้รากเดินดีก่อน ยอดที่จะนำมาชำ ให้ใช้ยอดกระโดงหรือยอดที่แยกออกด้านข้าง ตัดต่ำกว่ายอดลงมา 5 ข้อแล้วเอาดินเหนียวหุ้ม 2 ข้อล่าง เพื่อเพิ่มความชื้นให้แตกรากเร็วขึ้นไม่เช่นนั้นจะเหี่ยวเฉา จากนั้นจึงนำยอดไปชำลงในถุงจนกระทั่งแตกรากแล้วจึงนำไปปลูก เกษตรกรอาจไม่เพาะชำกล้า แต่ใช้วิธีปลูกทันทีก็ได้ โดยตัดยอดดีปลีประมาณ 5 ข้อแล้วนำไปปลูกติดกับเสา ค้างเลย 3-5 ค้างต่อเสา ฝังลงดินประมาณ 3 ข้อ นำยอดทั้งหมดผูกติดกับเสาค้างเพื่อให้รากยึดเกาะที่เกิดขึ้นใหม่ เกาะติดกับเสาค้าง จากนั้นพรางแสงด้วยทางมะพร้าวประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นดีปลีก็สามารถเจริญเติบโตได้โดย ไม่ต้องพรางแสงอีกต่อไป เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรมีการพูนโคนและทำร่องน้ำให้มีความลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำไหล ผ่านสะดวก  เกษตรบ้านอะลาง

วิธีการปลูก :  ค้างที่ใช้ปลูกดีปลีเป็นค้างไม้หรือค้างปูนเช่นเดียวกับพริกไทย การเตรียมเสาค้าง เกษตรกรทั่วไปนิยมใช้เสาค้างไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง มีอายุการใช้งาน 10-20 ปี ซึ่งในอดีตสามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูก การใช้ค้างไม้ต้นดีปลีสามารถยึดเกาะได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันเสา ค้างไม้ หายากและมีราคาสูงทำให้เกษตรกรหันมาใช้เสาคอนกรีตสำหรับทำค้าง เสาคอนกรีตสี่เหลี่ยมขนาด 15*15 เซนติเมตร สูง 2.5 เมตร สามารถหาได้ง่าย แม้จะมีข้อเสียบ้างเมื่ออุณหภูมิสูงจะเก็บความร้อน ทำให้ราก ของดีปลีที่ใช้ยึดเกาะกับเสาค้างคอนกรีตไม่สามารถยึดเกาะได้ดีเท่าค้างไม้ เตรียมค้างไม้แก่น หรือเสาซีเมนต์ขนาด ประมาณ 4*4  นิ้ว ฝังลงดินให้สูงพ้นดินประมาณ 3-3.5 เมตร ระยะปลูก 1.20*1.20 เมตร ขุดหลุมขนาด 50*50*50 ซม.

ปลูกไม้ค้างยืนต้นหรือปักค้าง ดินที่ใส่หลุมควรเป็นหน้าดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราส่วน ปุ๋ย : ดิน ประมาณ 1 : 5 ใช้ยอดพันธุ์ดีป
ลีค้างละ 2 ยอด ให้อยู่ตรงข้ามกันหรือปลูกด้านใดด้านหนึ่งหลุมละ 2 ยอด เมื่อปลูก เสร็จบังแสงแดดด้วยทางมะพร้าว รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอทุกวัน มัดยอดให้ติดกับค้างเมื่อยอดดีปลีเจริญขึ้นไปจนกว่า ดีปลีจะขึ้นสุดค้าง ใช้เสาไม้แก่น หรือเสาซีเมนต์ หรือวัตถุอื่น ๆ ที่ทนหลายปี ความยาว ของเสา 4 - 5 เมตร ฝังลงดิน 0.5 - 1 เมตร เอาเถาดีปลีที่ชำจนแตกรากใหม่มีข้อและแตกยอดใหม่แล้วเกาะติดกับต้นเสา ในระยะแรกต้องใช้ลวดหรือเชือกช่วยยึดหลวม ๆ ขึ้นไปตามลำดับ จนกว่าเถาดีปลีจะเกาะต้นเสาได้ดี จึงไม่ต้องใช้เชือกยึดอีก

การบำรุงรักษา
ในฤดูร้อนควรให้น้ำสม่ำเสมอ อย่าให้น้ำขังท่วมราก หากรากแช่น้ำข้ามคืนดีปลีจะตาย ใส่ปุ๋ยบ้างเพื่อให้ต้นแข็งแรงและผลดก

ศัตรูของดีปลี : ได้แก่ เพลี้ยแป้งและมด 

แตงโม รัน รัน


หน้าแล้งชวนกันมาปลูกบักแตงโม ''เด้อพี่น้อง''


แตงโมในโลกนี้มีอยู่ด้วยกัน 5 สีได้แก่  สีขาว, ชมพู, แดง, ส้ม และสีเหลือง

สำหรับบ้านเรา แตงโมที่มีให้เห็นบ่อย คือสีแดง สีเหลือง...แต่ที่คุ้นกันจริงๆจะเป็นเนื้อในสีแดง ถึงขนาดเพียงแค่แรกเห็นยังไม่ทันได้ลิ้มลอง ต่อมจิตใต้สำนึกจะกระตุ้นจินตนาการนึกคิดไปล่วงหน้า... แตงโมสีแดงจะหวานอร่อยกว่าแตงโมเนื้อเหลืองที่สีสันจืดจางสู้แดงเข้มไม่ได้

  *แต่วันนี้หาได้เป็นเช่นนั้น...แตงโมเนื้อแดง หวานอร่อยสู้เนื้อเหลืองไม่ได้แล้ว*

โดยเฉพาะแตงโมสายพันธุ์ “รัน รัน” ผลงานของ พงศ์ศักดิ์ พงษ์อริยทรัพย์ นักปรับปรุงพันธุ์พืช บริษัท เจียไต๋ จำกัด ที่ได้ใช้เวลาในการรวบรวมพันธุ์แตงโมเนื้อเหลืองทั่วทั้งโลกมานานถึง 4 ปี และใช้เวลาในการพัฒนาสายพันธุ์อีก 3 ปีกว่าจะได้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 30 คู่ มาปลูกผสมข้ามสายพันธุ์ในแปลงทดลองอีก 2 ปี จนออกมาได้พันธุ์ที่แน่ใจว่า แตงโมเนื้อเหลืองที่มีรสชาติหวานเนื้อแน่น ให้ผลดกกว่าพันธุ์อื่นๆ ทนต่อสภาพอากาศทุกฤดู และนำมาปลูกทดสอบในพื้นที่แปลงปลูกจริงอีก 2 ปี

11 ปีที่ผ่านไป วันนี้เจียไต๋จึงมั่นใจเต็มร้อย แตงโมเนื้อเหลืองสายพันธุ์ที่ใช้ชื่อว่า “รัน รัน” ให้ผลิตผลเหมือนที่ฝันไว้

“นอกจากจะให้ผลดก เนื้อแน่นหวานกว่าแตงโมที่มีขายอยู่ในบ้านเราตอนนี้แล้ว รัน รัน ยังเป็นพันธุ์ที่เราออกแบบมาให้เหมาะต่อการขนส่งในระยะทางไกลอีกด้วย เพราะได้ปรับปรุงพันธุ์ให้ลูกผลออกมามีลักษณะรูปทรงหมอน นำไปวางเรียงในรถจะทำได้ง่ายกว่าผลทรงกลมที่กลิ้งไปกลิ้งมา และยังปรับปรุงพันธุ์ให้มีเนื้อหนาเปลือกบางแต่เหนียว เพื่อลดปัญหาแตงโมแตกระหว่างการขนส่ง” พงษ์ศักดิ์ คุยอวดสรรพคุณพันธุ์แตงโมฝีมือตัวเอง


ด้าน นายเคน แสนมี  ประธานสหกรณ์ผู้ผลิตแตงโมสกลนคร และชาวสวนแตงโมรายใหญ่ที่ได้นำแตงโมงสายพันธุ์ รัน รัน มาปลูกนานกว่า 2 ปี ยอมรับว่า ให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์อื่นๆจริง

“ปลูกแตงโมมากว่า 20 ปี พันธุ์อื่นๆที่เคยปลูกมาอย่างเก่ง 1 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 3 ตัน แต่พันธุ์นี้ 1 ไร่ ได้ 5-6 ตัน ยิ่งถ้าเป็นหน้าแล้งด้วยแล้ว ได้ถึง 9 ตันเลยทีเดียว นอกจากนั้นในเรื่องการแตกเสียหายระหว่างขนส่งยังไม่เจอเลย ต่างจากพันธุ์อื่นที่ขนส่งไปกรุงเทพฯ แต่ละเที่ยวต้องมีแตงโมแตกเสียหายไม่น้อยกว่า 10%”

ส่วนเรื่องความหวานอร่อย จากประสบการณ์ 20 ปี ปลูกแตงโมเนื้อเหลืองมาไม่รู้กี่สายพันธุ์ ยอมรับว่า “รัน รัน” เนื้อหวาน แน่น และหอมกว่า

เรียบเรียง : ชาติชาย  ศิริพัฒน์
เมล็ดพันธุ์  บริษัท เจียไต๋ จำกัด  : http://www.chiataigroup.com